6.2 ประเภทของคำถาม คำถามปลายเปิด (open-ended questions) คำถามปลายเปิด (open-ended questions) หมายถึง คำถามที่ผู้ตอบ ตอบได้อย่างอิสระ ไม่กำหนดคำตอบตายตัว คือเปิดโอกาสให้ผู้ถูกถามได้อธิบาย หรือพูดถึงแนวความคิดของตัวเองได้อย่างอิสระ ประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อใช้คำถามเปิด - ผู้สัมภาษณ์มีความเป็นอิสระที่จะตอบคำถาม - เป็นการทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้ถึงศัพท์ต่าง ๆ ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ใช้ ซึ่งมีผลสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะ, ความเชื่อ, การศึกษาของผู้ถูกสัมภาษณ์ - ไม่ต้องเตรียมรายละเอียดของคำถามมากนัก - มีความต่อเนื่องในการถามคำถาม - ทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึกเต็มใจ และเพิ่มความสนใจในการตอบคำถาม - คำตอบที่ได้จะอยู่ที่ระดับใด จะขึ้นกับผู้ถูกสัมภาษณ์ (ลึกซึ้งแค่ไหน) - คำถามที่ผู้สัมภาษณ์ถาม จะเป็นคำถามที่สั้นและง่ายในการถาม - ผู้สัมภาษณ์สามารถดึงคำถามเปิดนี้มาใช้ได้โดยไม่ต้องเตรียมมาก่อน ข้อเสีย - คำตอบที่ได้อาจมีรายละเอียดเกินกว่าที่ต้องการ หรือตอบไม่ตรงประเด็น - ผู้สัมภาษณ์ไม่สามารถควบคุมเวลา และคำตอบได้ - มักจะใช้เวลามากเกินไป สำหรับข้อมูลที่ต้องการเพียงเล็กน้อย - จะดูเหมือนผู้สัมภาษณ์ไม่ได้เตรียมพร้อมมากนัก - อาจเกิดความกดดันสำหรับผู้ถูกสัมภาษณ์ ว่าถูกจับผิด หรือคิดว่าตนเองเป็นเหยื่อในการตกปลา คำถามปิด (Closed questions) คำถามปิด หมายถึง คำถามที่มีคำตอบแน่นอน มีคำตอบให้เลือก คำถามต้องการคำตอบเป็นจำนวนหรือต้องการคำตอบเพียงใช่หรือไม่ หรือเป็นคำตอบสั้น ๆ ที่ไม่มีการอธิบายรายละเอียด ประโยชน์ที่ได้รับ คือ - ประหยัดเวลา - ง่ายต่อการเปรียบเทียบผลสัมภาษณ์ - ตรงตามเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่ต้องการ - ควบคุมการสัมภาษณ์ได้ง่าย - ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการได้รวดเร็ว คำถามในรูปแบบนี้ต้องการให้ผู้ตอบ ตอบเพียงใช่หรือไม่ใช่ เท่านั้น ซึ่งลักษณะนี้ก็เป็นลักษณะของคำถามปิดนั่นเอง ข้อเสียของคำถามแบบเปิด - ผู้ถูกสัมภาษณ์จะรู้สึกเบื่อ - จะไม่ได้รายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้ถูกสัมภาษณ์ - จะไม่ได้เหตุผล และความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ - จะไม่ได้รับสัมพันธภาพระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ ลักษณะคำถามที่ต้องการข้อมูลที่ลึกซึ้ง ต้องการประเภทคำตอบ ที่ลึกซั้งในงานนั้น ๆ ของรูปแบบคำถาม ลักษณะคำถามแบบนี้จะเป็นลักษณะคำถามเปิด ต้องให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบได้อย่างอิสระ เพื่อผู้สัมภาษณ์สามารถนำไปวิเคราะห์ความต้องการได้ลึกซึ้งมากขึ้น คำถามที่เป็นหลุมพราง (Question Pitfalls) เป็นคำถามที่ไม่ควรใช้ในการสัมภาษณ์ เนื่องจากจะทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่พอใจ เกิดความ สับสน และคำตอบที่ได้อาจเบี่ยงเบนไม่ได้ตามข้อเท็จจริง นั้นคือจะต้อง - หลีกเลี่ยงในการตั้งคำถามที่นำคำตอบ (Leading questions) คำถามนำจะทำให้ผู้ตอบเอนเอียงไปสู่สิ่งที่ผู้ถามต้องการ เช่น “คุณเห็นด้วยกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบควบคุมสินค้าคงหลังใช่ไหม” เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้ตอบลำบากใจที่จะปฏิเสธ ดังนั้นควรเปลี่ยนเป็น “คุณคิดอย่างไรกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมสินค้าคงคลัง” ซึ่งจะให้ประโยชน์มากกว่า - หลีกเลี่ยงคำถามซ้อนคำถาม (Double – Barreled questions ) คำถามที่มีมากกว่า 1 คำถามซ้อนอยู่ในประโยคเดียวกัน เช่น “คุณมีการตัดสินใจอะไรบ้างในการทำงานปกติแต่ละวัน และคุณจัดการสิ่งเหล่านั้นอย่างไร” ซึ่งอาจทำให้ผู้ตอบตอบเพียงคำถามเดียว ทำให้ผู้ถามสรุปคำตอบที่ได้ผิดพลาด
ban1gun.com เว็บสำหรับคนบ้านเดียวกัน adyim.com www.Stats.in.th [Answer]